วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0

การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0

1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง ลงใน Web Blog ของนักศึกษา
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายเรื่อง "การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"
Social ในที่นี้หมายถึง สังคมออนไลน์
Media ในที่นี้หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ
Social Media จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น เนื้อหาของ Social Media โดยทั่วไปเปรียบได้หลายรูปแบบ ทั้ง กระดานความคิดเห็น (Discussion boards), เว็บบล็อก (Weblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ ส่วนเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหาเหล่านี้ก็รวมถึง เว็บบล็อก (Weblogs), เว็บไซต์แชร์รูปภาพ, เว็บไซต์แชร์วิดีโอ, เว็บบอร์ด, อีเมล์, เว็บไซต์แชร์เพลง, Instant Messaging, Tool ที่ให้บริการ Voice over IP เป็นต้น

Social โลกแห่งสังคมออนไลน์ การติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ ที่จะนำมาใช้สร้างสินค้าใหม่นั้นมี ด้วยกัน 4 ประเภท 
1.OWNED media เป็น สื่อที่ผู้ประกอบการเองเป็นเจ้าของ ได้แก่ เว็บไซต์ บล็อก ซึ้งเป็นสื่อที่สร้างขึ้นมาเอง 
2.PAID Media เป็นสื่อที่เราต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น แบรนดเนอ สปอนเซอร์ ชิฟ 
3.EARNED Media เป็นสื่อที่ลูกค้า ผู้บริโภคทั่วไปเป็นเจ้าของ เช่น เฟชบุ๊ค,ทวิชเตอร์ เป็นการแบ่งปันข้อมูลพูดคุยระหว่างกัน 
4.Social media เป็นการสร้างสังคมเข้าหาลูกค้า ให้ลูกค้าได้มาพูดคุยกับเรา เพื่อหาข้อมูลความคิดเห็น แทนที่จะปล่อยให้ผู้บริโภคพูดถึงเราโดยที่เราไม่ส่วนร่วมรับรู้ด้วย ให้เราลุกขึ้นมาสังคมกับลูกค้าและตลาด ต้องสร้างตัวของสินค้าเราให้ลูกค้ามองเราในแง่ดีให้ได้
Social media มันถูกสร้างขึ้นมาภายใต้การพูดหรือการสื่อสารปากต่อปาก โดยปัจจุบันทำได้ได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทางโลกสังคมออนไลน์ต่างๆ ได้อย่างทันที ซึ่งเรื่องนี้มีบทบาททางด้านการตลาด ผู้บริโภคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยการที่จะสร้างแบรนสินค้าขึ้นมาใหม่จำเป็น ที่จะต้องรู้ถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. Globalization Interdependence การเปลี่ยนไปในเรื่องความคิด คิดว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิออกความเห็นโต้แย้ง ไม่เห็นด้วยได้ มีอิสระในความคิดและตัดสินใจ 
2. Control of Media Customer is publisher ผู้บริโภควันนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านความคิดเห็นต่อสินค้า อยากออกแบบสินค้าเห็นแบบที่ตนต้องการ ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่รอดูข้อมูลสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้บริโภควันนี้มีการแบ่งปันข้อคิดเห็นของตนแก่สาธารณะได้อย่างรวดเร็ว
3. Conversations generate exposure sales การพูดคุยโต้ตอบระหว่างลูกค้าเพื่อที่จะสามารถขายสินค้านั้นได้ เราต้องมีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ ที่มีเหตุผล น่าสนใจให้ได้จึงจะสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจและเกิดการตกลง
4. Transparency – open source ปัจจุบันเป็นยุคที่ทุกอย่างเปิดกว้าง ความโปร่งใส จริงใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมมั่น เรื่องการให้เครดิตต่างๆ ของผู้มีส่วนช่วยก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรนสินค้าใหม่
5. Collaboration rules การอาศัยความร่วมมือของผู้บริโภค 
6.People use technologies to get thing that they need from each, other rather from corporations ผู้บริโภคจะอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการแสวงหาข้อมูล สินค้า เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งเขาจะข้อมูลจากการพูดเล่าของผู้บริโภคด้วยกันก่อนเสมอ ผู้บริโภคจะไม่เชื่อจากผู้ผลิตทั้งหมดก่อน เขาจะมองเห็นเป็นการโฆษณา ซึ่งเขาจะเชื่อจากผู้บริโภคที่คุยบอกกันเองมากกว่า
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้ "โซเชียล มีเดีย" มีการเติบโตอย่างมากในทั่วโลก เห็นได้จากผู้ใช้เฟซบุ๊คที่มีจำนวน 800-900 ล้านคน หากเปรียบเทียบเป็นประชากรของประเทศ ก็อยู่ในอันดับ 3 ของโลก ดังนั้นการนำ Content ส่งต่อไปยังผู้บริโภค จะต้องมี Distribution Channel ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม โดยเฟซบุ๊ค ยังถือเป็นช่องทางการสื่อสารในโลกโซเชียล มีเดีย ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้จำนวนมหาศาล ผ่านพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ที่มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มเพื่อน และการแชร์ เช่นเดียวกับ ทวิตเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกไม่น้อยกว่า 500 ล้านคน, ยูทูบ กว่า 800 ล้านคน และล่าสุดที่กำลังมาแรง อินสตาแกรม จำนวน 40 ล้านคน กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล สิ่งที่แบรนด์ต้องทำ คือ การสร้างคอมมูนิตี้ ในโลกดิจิทัล ออนไลน์ เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้บริโภค ได้พูดคุยและสื่อสารกับแบรนด์โดยตรง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารและโฆษณาจากเดิมที่แบรนด์เป็น "ผู้พูด" ถูกปรับเปลี่ยนเป็นให้ผู้บริโภคเป็น "ผู้พูดและบอกต่อ" แทน ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ความท้าทายของการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล นั่นคือแบรนด์ จะต้องสร้างประสบการณ์ร่วม ให้เกิดขึ้นกับลูกค้า เพื่อทำให้เกิดจินตนาการถึงแบรนด์นั้นๆ และหากเป็นประสบการณ์ที่เข้าใจได้ง่าย และนำมาเล่าผ่านคอมมูนิตี้ ออนไลน์ ที่แบรนด์สร้างไว้ให้ ถือว่าประสบความสำเร็จ" การสร้างแบรนด์ให้คนจดจำ ภายใต้ "ประสบการณ์ร่วม" ที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร ซึ่งในอดีตมักจะใช้สื่อแมสเป็นเครื่องมือ แต่ปัจจุบันโซเชียล มีเดียได้กลายเป็นเครื่องมือ ช่วยเล่าขาน สร้างภาพ และบอกต่อแบรนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้นมาก หรือเปลี่ยนจาก One Way Communication เป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟระหว่างแบรนด์ ผู้บริโภค และชุมชนออนไลน์
การ ให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ สร้างให้แบรนด์โดดเด่นและถูกเลือกบริโภค มีเดียและโซเซียลมีเดีย ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก พฤติกรรมผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่มีการใช้งาน "สมาร์ท ดีไวซ์" อยู่ตลอดเวลา ถือเป็น "โอกาส" ที่แบรนด์ต่างๆ ต้องปรับทิศทางการสื่อสารและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้า 

2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ แล้วสรุปใน Web Blogs
คำศัพท์
1.Social Network คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง
2.Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง
• Hi5
• Fraudster
• My Space
• Face Book
• Orkut
• Bebo
• Tagged
3.Banner ป้ายโฆษณาสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่สามารถนำไปแสดงผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยภายในจะมีเนื้อหา รูปภาพแสดงสินค้าหรือบริการอยู่ และ อาจจะเพิ่มสีสันด้วยการกระพริบ-เคลื่อนไหวของป้ายแบนเนอร์ เพื่อให้ผู้ใช้ internet 
4.Co-Creation กลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการปฏิสัมพันธ์(Interaction) เน้นการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการความคิดเห็นระหว่างกัน ความร่วมมือนี้อาจเกิดระหว่างธุรกิจกับผู้ริโภคหรือธุรกิจกับธุรกิจ 
5.Owned media เป็น สื่อที่ผู้ประกอบการเองเป็นเจ้าของ ได้แก่ เว็บไซต์ บล็อก ซึ่งเป็นสื่อที่สร้างขึ้นมาเอง
6.Awareness องค์ความรู้ และทัศนคติของสมาชิกทุกคนในองค์กรที่พึงมี เกี่ยวกับการป้องกันรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯทั้งทางด้านกายภาพ
7.People use technologies to get thing that they need from each, other rather from corporations 
ผู้ บริโภคจะอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการแสวงหาข้อมูล สินค้า เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งเขาจะข้อมูลจากการพูดเล่าของผู้บริโภคด้วยกันก่อนเสมอ ผู้บริโภคจะไม่เชื่อจากผู้ผลิตทั้งหมดก่อน เขาจะมองเห็นเป็นการโฆษณา ซึ่งเขาจะเชื่อจากผู้บริโภคที่คุยบอกกันเองมากกว่า
8.Paid Media เป็นสื่อที่เราต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น แบรนดเนอ สปอนเซอร์ ชิฟ 
9.Buzz marketing การสร้างสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จัและเกิดความต้องการในลักษณะของ”การ บอกต่อแบบปากต่อปาก” ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์การสื่อสารที่มีพลังขับเคลื่อนสูงมากต่อการสร้าง ความเชื่อถือและกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อ
10.mindset กระบวนการทางความคิด การปรับทัศนคติ การปรับความชอบหรือนิสัยหรือการจัดลำดับความคิดของตัวเอง
11.Conversation คือ การสนทนาซึ่งต้องมีการโต้ตอบ
12.Knowledge Sharing การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วม กันมารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
13.Reviewer คือนักวิจารณ์สะท้อนกลับถึงข้อมูลสินค้าและบริการให้กับธุรกิจ
14.CRM กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
15.Viral Marketing การตลาดแบบไวรัส เทคนิคการทำการตลาดที่ใช้สื่อ Social Networks ที่มีอยู่แล้ว เช่น facebook, hi5, และอีกมากมายนับไม่ถ้วน ในการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดด้านอื่นด้วย
16.community marketing การจัดตั้งกลุ่มของลูกค้าที่เข้ามาเป็นตัวแทนของลูกค้าทั้งหมด และให้เข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับกิจการ จนกระทั่งในที่สุดกลุ่มนี้จะกลายเป็นลูกค้าระดับเกรดเอที่การซื้อสินค้า บริการกับลูกค้า ติดหนึบไม่ไปไหน รวมถึงเป็นตัว
17.Control of Media คือ การควบคุมจัดการสื่อ
18.Publisher การเป็นผู้นำเสนอข้อมูล ป่าวประกาศ 
19.Reration ship คือ การสร้างความสัมพันธ์ 

20.Credit คือการนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้ ทั้งภาพรูป เสียง สมควรที่จะมีการอ้างถึง

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555


"Online Business with Google"
        
           การทำธุรกิจในรูปแบบ SMEs เป็นแหล่งรองรับการจ้างงานขนาดใหญ่และกระจายอยู่ทั่วประเทศ  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้ารวมทั้งยังทำรายได้นำเงินตราต่างประเทศจากการส่งออก และยังสามารถผลิตสินค้า  เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์บริการแก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือนักลงทุนหน้าใหม่ จากธุรกิจเล็ก ๆ และพัฒนาจนเติบโตในที่สุด  เป็นหน่วยผลิตที่สนับสนุนและเชื่อมโยงไปสู่กิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลางและหรือกิจการขนาดย่อมด้วยกันเองในรูปแบบของการผลิตเป็นสินค้าวัตถุดิบขั้นต้น ขั้นกลาง ด้วยวิธีการว่าจ้างผลิต หรือการรับช่วงการผลิต

          เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ซึ่งมีเทคนิคและวิธีการต่างๆเพื่อให้สื่อที่ทำลงไปเกิดความน่าสนใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้งานใหม่เพื่อให้ทันต่อยุคปัจุบัน เช่น การใช้ google + , google hangout  เนื่องจากคนไทยเป็นประเทศอันดับหนึ่งในภูมิภาค ทำให้มีการค้นหาเป็นจำนวนมากและผู้คนส่วนใหญ่ 8 ใน 10 ของคนที่ค้นหา  (Search Engine Optimization)



2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ แล้วสรุปใน Web Blog

1. SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีพนักงานจำนวนไม่มาก

2. natural result คือ  ผลลัพธ์โดยปกติ

3. Google AdWords คือ โฆษณาในรูปแบบ pay per click ข้อดี คือ เสียค่าใช้จ่ายตามจริง เมื่อผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเท่านั้น และโฆษณาจะปรากฏให้ผู้ชมเห็นตามคีย์เวิร์ด (Keyword) หรือ กลุ่มคำที่คุณเลือกไว้ซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ

4. cocial media จะเป็นแทกที่ทำให้ผู้บริโภคนึกถึงเรา เพื่อให้พูดถึงเราในแง่ที่ดี

5. Google+ (Google Plus) คือโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วย

6. Hangouts คืออะไร
ที่อยู่อีเมลของคุณจะปรากฏแก่คนที่คุณแชทด้วย เมื่อคุณปรากฏในรายชื่อการแชทของคนอื่นใน Google+ เป็นไปได้ว่าคนนั้นอาจค้นพบที่อยู่อีเมลของคุณ แม้ว่าที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่ปรากฏในรายชื่อการแชทใน Google+ แต่ละปรากฏในรายชื่อการแชทของผลิตภัณฑ์อื่นของ Google

7. SCG eco value คืออะไร
จากความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสร้างคุณค่าให้สังคม เอสซีจีจึงให้ความสำคัญกับการวิจัย พัฒนาสินค้า และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไปพร้อมกับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเป็นองค์กรไทยรายแรกที่กำหนดฉลากสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประเภทการรับรองตนเอง ภายใต้ฉลากSCG eco value

8. solomo คือ โน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่โดดเด่นที่สุดผลที่ได้คือ 3 อย่างคือ Social, Local, Mobile ที่ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันนั้น นิยมใช้กันมาก และเป็นพฤติกรรมที่นักการตลาดออนไลน์ต้องหันมาวางกลยุทธ์เพื่อ SoLoMo กันอย่างเอาจริงเอาจัง ทาง Nielsen ได้นำเสนอ infographic เกี่ยวกับเทรนด์พฤติกรรมทั้ง 3 นี้ออกมาให้ได้เห็นกัน Pin

9. CMOS คืออะไร  CMOS (ซีมอส) ย่อมาจาก “Complementary Metal Oxide Semiconductor” เป็นชิปไอซีที่ใช้เก็บข้อมูลที่เป็นค่าเฉพาะของแต่ละระบบ เพื่อให้ Bios (ไบออส) นำไปใช้ในการบู๊ตระบบ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน CMOS เช่น เวลา และวันที่ของระบบ ค่าของฮาร์ดดิสก์ และไดรว์ซีดี/ดีวีดี, การปรับค่าความเร็วในการอ่านเขียนของแรม เป็นต้น เป็นชิปสารกึ่งตัวนำที่ถูกติดตั้งแบบออนบอร์ดมากับเมนบอร์ดเลย เราจะมองไม่เห็นตัวชิปเพราะมันถูกผนวกเข้ากับชิปเซ็ต ชิป CMOS เป็นหน่วยความจำที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้กินไฟน้อย และทำงานได้เร็ว

10. Commuting คือการต้องเดินทางไปเพื่อทำภารกิจบางอย่าง เป็นการเดินทางที่อาจกระทำกันบ่อยๆ หรือทุกวัน  เช่นทุกเช้าวันทำงาน ต้องเดินทางไปทำงาน หรือไปศึกษาเล่าเรียน ดังนี้เรียกว่า commuting 

11.การเข้าถึงเว็บ Mobile Site ได้ ซึ่งทาง Google จะใช้ชื่อเรียก Robot ที่จะคอยไต่ไปตามเว็บ Mobile Sites ต่างๆ ว่า “Googlebot-Mobile” ก็ให้เราทำการแก้ไขแล้วก็ยอมให้ไอ้เจ้า Robot ตัวนี้สามารถเข้าถึงเว็บ Mobile Site ของเราได้

12. AEC ย่อมาจาก ASEAN  Economic  Community หรือประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เป็นเป้าหมายสำหรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาคมประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association  of  Southeast  Asia n  Nations: ASE AN ) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ทั้งนี้ อาเซียน มีเป้าหมายที่จะให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจบรรลุผล

13.Go-Global คือซอร์ฟแวร์คลาวด์ ประกอบด้วยซอร์ฟแวร์สำหรับแม่ข่าย และซอร์ฟแวร์ลูกข่าย

14.โปรแกรม Google Engage นำเสนอการอบรมและการสนับสนุนที่คุณจำเป็นต้องใช้เพื่อช่วยให้ลูกค้าของคุณได้รับประโยชน์จาก Google AdWords และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Google 

15. increase ความหมาย แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ สาระ เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ increase กับสนุก! ความรู้ แหล่งความรู้ของคนไทย เพื่อคนไทย และสังคมไทย

16. Stimulus  เป็นช่วงเวลาที่ได้เห็นโฆษณาผ่านเข้ามา

17. FMOT หรือ First Moment of Truth เป็นคำที่ถูกนิยามไว้ ว่าเป็นชั่วขณะที่ผู้ซื้อมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าร้านและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ

18. SMOT หรือ Second Moment of Truth เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้าดังกล่าว เค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลบนเว็บไซต์ก็เป็นได้

19.“Think with Google” เป็นหนึ่งในโครงการของ Google ที่จะนำเรื่องราวในแวดวงธุรกิจออนไลน์และเทรนด์ต่างๆ มาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้ศึกษากัน ไม่ว่าจะเป็นบทสัมภาษณ์ของผู้นำทางความคิด นำเสนอกรณีศึกษา หรือข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจเพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการวางแผนธุรกิจ

20. Service ไม่ได้หมายถึงอะไรที่เด่นชัดอย่าง Promool.com Pantip.com แต่หมายถึงส่วนประกอบที่คนอื่นๆนำไปใช้ในการทำบริการที่กว้างกว่านี้ด้วย ตัวอย่างเช่น Microsoft Passport ที่ให้บริการตรวจสอบความเป็นตัวตนจริง (Authentication) ผ่านเว็บ ทำให้การบริการข่าวของ Bangkok Post ไม่ต้องตรวจสอบการเข้าสู่ระบบเอง แต่ยกให้ Passport เป็นตัวจัดการแทน หรืออย่าง Dynamic services whitepaper ของ Oracle ก็มีส่วนที่ให้บริการ แปลงค่าเงิน แปลภาษา การส่งของ กระบวนการเคลมสินค้า เป็นต้น ส่วนความหมายอย่างเป็นทางการของ Web Service ก็คงเป็นของ IBM




สรุป “Online Business with Google”
— 2012/08/13
You and your customers
- ผู้บริโภค 8 ใน 10 คนที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ทุกวันก่อนที่ตัดสินใจว่าจะซื้อ
- แต่มีเพียง 1 ใน 10 ผู้ประกอบการไทยที่มีเว็บไซต์เท่านั้น





Stimulus  เป็นช่วงเวลาที่ได้เห็นโฆษณาผ่านเข้ามา
FMOT หรือ First Moment of Truth เป็นคำที่ถูกนิยามไว้ตั้งแต่ปี 2005 โดย Procter & Gamble (P&G) ว่าเป็นชั่วขณะที่ผู้ซื้อมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าร้านและเกี่ยวข้องกับการ ตัดสินใจซื้อ
SMOT หรือ Second Moment of Truth เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้าดังกล่าว เค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลบนเว็บไซต์ก็เป็นได้
และจากรูปเราจะเห็นว่าช่วงเวลาที่โผล่ขึ้นมาก่อนหน้า FMOT จะถูกเรียกว่า ZMOT ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ก่อนหน้าที่จะไปถึงร้านค้า จริง อย่างการ เริ่มค้นหาข้อมูลสินค้าที่ตัวเองสนใจ เช่น การดูรีวิว, เรตติ้ง จากเว็บไซต์ และ Social Media ต่างๆ ดูวิดีโอคลิปจาก YouTube หรือแม้กระทั่งการสแกน Barcode จากโทรศัพท์แล้วเปิดอ่านรีวิวกันตรงๆ เลย แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด ZMOT คือ การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างสมาร์ทโฟนนั่น เอง (จากสถิติกว่า 79% ของชาวสหรัฐฯ กล่าวว่าพวกเขาใช้สมาร์ทโฟนในการซื้อของ)
ใครๆ ก็อยากแน่ใจก่อนว่าของที่ตัวเองซื้อเป็นของดี แหล่งที่หาข้อมูลได้ง่ายและสะดวกที่สุดย่อมไม่พ้นอินเทอร์เน็ตและนี่คือสิ่ง ที่ Google ต้องการชี้ให้เห็นว่ามันเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่นักการตลาดในยุคปัจจุบันควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
concept
1. จะต้องมีตัวตน หรือต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองแล้ว
2. จะต้องค้นหาแล้วเจอหรือต้องอยู่ในการค้นหาผลเสิร์ช
3. ปรากฎตัวด้วยโฆษณาอย่างเดียวไม่ได้เราจะต้องปรากฎตัวบนแผนที่

คำศัพท์
1. google fraindly คือ นำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงบน หน้าเว็บของเราโดยเฉพาะหน้าแรก หาก หน้าเว็บของเรามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์  เนื้อหาของเรา จะดึงดูดผู้เข้าชมจำนวนมาก  และดึงดูดเว็บมาสเตอร์เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของเรา ในการสร้างประโยชน์เว็บไซต์ที่มีข้อมูลจะเขียนหน้าได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง อธิบายหัวข้อของเราได้ก่อนเสมอ  เกี่ยวกับคำที่ผู้ใช้จะพิมพ์เพื่อค้นหาหน้าเว็บของเรา และรวมคำเหล่านั้นในเว็บไซต์เรา ซึ่งถ้าผู้ใช้พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ที่จะหาใน Google เนื้อหาของเราก็จะขึ้นมาก่อน ทำให้เว็บไซต์ของเรามีคนเขาถึงได้มากอย่างง่ายดาย การจะทำให้เนื้อหาของไซต์เราขึ้นเนื้อหาแรก ๆ การทำเช่นนี้เราต้องไปสมัคร กับ Google ก่อน ขั้นตอนของเว็บไซต์ที่เป็นมิตรกับ Google เริ่มต้นจากการเกิดของเว็บไซต์ในเวลาเดียวกันคุณเลือกชื่อโดเมน คุณควรเลือกชื่อโดเมนที่จะบอกเกี่ยวกับเรื่องของเว็บไซต์ของคุณ คุณควรมีสมาธิในรูปแบบหนึ่งที่มีเว็บไซต์หนึ่ง เพียงแค่เติมเว็บไซต์ของคุณด้วยเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น
2. Search Engine Optimization (SEO) การทำ SEO คือ กระบวนการที่ทำให้เว็บไซต์ หรือ ชื่อเว็บไซต์ ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของผลการค้นหาผ่าน เว็บเสิร์ชเอนจิน (Search Engine) เช่น Google.com, MSN.com, Yahoo.com, Sanook.com เป็นต้น ด้วย Search Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ ข้อมูล เนื้อหา บทความ สินค้าและบริการ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ของเรา โดยรักษาให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเสมอ (ปกติจะพยายามทำให้อยู่ในหน้าแรกของการค้นหา) ซึ่งการ ทำ SEO นั้นจะประกอบไปด้วย การปรับปรุง-เพิ่มคำสำคัญ (Keywords) ในหน้าเว็บไซต์ การปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้มีขนาดเล็กการใช้ meta tag และวิธีอื่นๆ ควบคู่กันไป
3. Google AdWords การทำโฆษณาแบบ Pay Per Click (PPC) ซึ่งเป็นการทำโฆษณาในรูปแบบหนึ่งของ Google Advertising คือ การทำโฆษณาบนหน้า Google ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ ซึ่งเมื่อคลิกที่โฆษณานั้นก็จะลิงก์ไปยังเว็บไซต์ ที่เรากำหนดไว้ได้ทันที ซึ่งคุณจะเสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีคนคลิกเท่านั้น แต่ถ้าชมอย่างเดียว ไม่มีการคลิก ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยโฆษณาของคุณจะปรากฏตามคีย์เวิร์ด ที่คุณเลือก ซึ่งเว็บไซต์ของคุณจะต้อง อยู่ในส่วน Sponsored ของ Google สังเกตุจากเมื่อเราค้นหาอะไรซักอย่างจาก Google ผลที่ได้จากการค้นหาจะมีกรอบสี่เหลี่ยมอยู่ด้านบน และด้านขวาเสมอ
4. natural results ผลเสิร์ชโดยปกติ
5. Page rank เป็นเทคโนโลยีที่ตั้งตามชื่อ ผู้ร่วมก่อตั้ง Google (Larry Page)ได้กลายเป็นมาตราฐานการวัดคุณค่าของเว็บไปแล้ว และการจะทำให้ได้มาซึ่งค่า PageRank สูงๆ ก็ต้องฝากลิงก์มากๆ จากเว็บที่มีค่า PageRank อยู่ก่อนแล้ว และไม่ได้มีการป้องกันการรั่วไหลของค่า PageRank จากการใช้ Nofollow และ อย่างที่ผมได้บอกไปหลายครั้ง  ทั้งจากหนังสือเล่มต่างๆ และบทความนี้ ว่าจำนวน Backlink มีความสำคัญมากต่อการได้คะแนน PageRank ที่จะมีผลช่วยในเรื่องของ Ranking ได้มากมาย แต่ทีนี้เราเองบางทีก็ไม่รู้จะนับเลขยังไงดี ว่าจะฝากลิงก์กี่ลิงก์หรือจะฝากลิงก์จากเว็บที่มีค่า PageRank เท่าไหร่ดี ถึงจะได้ค่าPageRank เท่านั้นเท่านี้ ผมเชื่อว่าหลายคนที่มุ่งเน้นการทำ SEO เพื่อค่า PageRank ก็คงอยากรู้ตัวเลขที่แน่นอนของค่า PageRank ในการคำนวณจากจำนวนลิงก์ที่มี หรือที่กำลังจะสร้างขึ้นในอนาคต โดยไม่ต้องหยิบเครื่องคิดเลขออกมาให้ปวดหัว  เพราะจะมีตารางมาให้คำตอบ… 


•  จากตารางที่เห็นนี้ ครั้งแรกที่มองอาจจะงงนิดนึง ว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ถ้าคุณเข้าใจแล้ว มันจะดูง่ายขึ้นมาทันที แถมมีประโยชน์มากอีกด้วย จากช่องด้านซ้ายสุดที่แสดงตัวเลขค่า 
   PageRank 1-10 หมายความถึงเป้าหมายการทำค่าPageRank ของคุณ ว่าคุณอยากได้ค่า PageRank เท่าไหร่ จากนั้นก็ลากนิ้วจากช่องนั้นๆ ไปทางขวาเข้าไปในตารางที่จะเห็นตัวเลขมากมาย นั่นคือจำนวนลิงก์ที่ต้องหามาให้ได้ ส่วนจะต้องหากี่ลิงก์นั้น มันก็จะขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ Backlink มาจากเว็บเพจค่า PageRank เท่าไหร่ที่อ้างอิงจากค่าPageRank จากแถวบนสุด 
   ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากได้ค่า PageRank 8 คุณจะต้องมี Backlink จากเว็บเพจที่มีค่า PageRank9 จำนวน 3 ลิงก์ด้วยกัน หรือคุณจำนวน 555 ลิงก์ถ้าเป็นลิงก์จากเว็บเพจที่มีค่า PageRank 6 อย่างที่บอกไงครับ ยิ่งลิงก์มาจากเว็บเพจที่มีค่า PageRank มากเท่าไหร่ ลิงก์นั้นก็มีค่าในสายตา Google มากเท่านั้น 
6.  couse pay per click เป็นการ โฆษณา ผ่านทางตัวแทนเว็บ เพื่อทำการ โฆษณา เว็บของคุณ โดย ค่าใช้จ่าย จะคิดจากจำนวนคลิกเป็นหลัก หากไม่มีจำนวนของการคลิก ก็จะไม่เสียเงินค่าโฆษณาแต่อย่างใด แต่อาจจะมีแตกต่างไปบ้างตามแต่ข้อตกลงแต่ละค่าย เช่น อาจจะมีการคิดเพิ่มเติมในรูปแบบของ ePPM หรือ จำนวนการแสดงโฆษณาต่อการแสดงหนึ่งพันครั้ง


7.  Contextual Ads คือ เนื้อหาหรือข้อความโฆษณา ที่บรรดาเจ้าของสินค้าหรือตัวแทนขายสินค้าและบริการใช้ในการโฆษณาผ่านผู้ให้บริการ เช่น  Google, Yahoo, MSN ใน รูปแบบของ PPC (Pay Per Click: จ่ายต่อคลิก) ซึ่งเป็นโฆษณาแบบ Contextual Ads ที่กำลังเป็นที่นิยมและได้ผลตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมาก
8.  Google Street View ส่องโลกแบบพาโนรามาผ่านภาพจากสถาน ที่จริง ถ้ารู้จัก Google Maps และ Google Earth เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำว่า Google Street View บางคนอาจจะเคยแวะไปใช้แบบผ่านๆ แต่วันนี้ผมจะพาทัวร์ Street View กันอย่างเต็มรูปแบบ แล้วคุณจะได้เห็นโลก ณ อีกจุดหนึ่งแบบของจริงในแทบจะทุกรายละเอียดอย่างที่หาชมที่ไหนไม่ได้ Google Street View เป็นบริการหนึ่งที่ทำงานอยู่ภายใต้ Google Maps และ Google Earth อีกที ด้วยแนวคิดง่ายๆ ว่า เป็นการนำเสนอภาพท้องถนนในเมืองขนาดใหญ่ด้วยการถ่ายภาพจากสถานที่จริง แต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์ก็คือ ความสามารถของระบบในการนำภาพถ่ายแต่ละช็อตมาร้อยเรียงกันให้กลายเป็น บรรยากาศที่เหมือนจริงมาก คือ เราเลือกมุมมองได้ถึง 360 องศารอบตัวตามแนวนอน และ 290 องศาตามแนวตั้ง พูดง่ายๆ ก็คือ หมุนดูรอบตัวเองได้ และก็เห็นบรรยากาศท้องฟ้าได้ในระดับหนึ่งด้วย คือ สูงขึ้นไปประมาณ 2.5 เมตร โดยทุกวันนี้เราสามารถเลือกฟังก์ชัน Google Street View เพื่อชมสถานที่ต่างๆ ในบรรยากาศจริงได้ในเมืองหลักของประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ … และล่าสุดเจาะลึกเข้าไปถึง Disneyland Resort ที่ Paris ด้วยวิธีการใช้งาน Street View นั้นไม่ยากครับ แต่บางคนอาจไม่ทันสังเกตหรือไม่เคยลองใช้กันเท่านั้นเอง โดยประโยชน์หลักๆ นั้นก็เพื่อทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับบรรยากาศของสถานที่จริง ไม่ใช่เพียงแค่รูปแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม หรือแบบจำลองสามมิติธรรมดาๆ เท่านั้น 
9.  Google Hangout สนทนา แบบเห็นหน้า เป็นกลุ่ม ด้วย
10.  Hangout On Air Google ได้เปิดฟีเจอร์บริการ Hangout On Air ให้ประชาชนทั่วไปสามารถควบคุมและจัดรายการอินเตอร์เน็ตทีวีของตัวเอง เผยแพร่สดพร้อมกันทาง  Google+ , youtube และเว็บไซต์ของตัวเองได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้ คนทั่วไป จะได้ใช้ Hangout Onair เวอร์ชั่นใหม่นี้ด้วย โดยเฉพาะพวกเจ้าของเพจต่างๆ บน Google+  คุณสมบัติของ Hangouts On Air ที่แตกต่างจาก Hangouts แบบเดิมที่เราใช้เฉพาะการสนทนาอย่างเดียว คือเราสามารถเผยแพร่ภาพ Hangouts แบบ Public สดๆให้คนทั่วโลกได้เห็น และสามารถบันทึกภาพได้เก็บไว้ใน youtube ได้อย่างง่ายดาย 
11.  mobile Site คือใช้มีหน้าเวป support กับ smartphone ได้แล้ว 
12.  Google Analytics จะแสดงให้คุณทราบว่าผู้เข้าชมพบเว็บไซต์ของคุณอย่างไร และใช้งานเว็บไซต์ของคุณอย่างไร ตลอดจนวิธีที่คุณสามารถปรับปรุงประสบการณ์ในการใช้งานของผู้เข้าชม คุณสามารถปรับปรุงผลตอบแทนจากการลงทุนของเว็บไซต์ของคุณ เพิ่ม Conversion และสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นทางเว็บ โดยใช้ข้อมูลนี้ คู่มือนี้สามารถช่วยทำให้คุณทำความคุ้นเคยกับคุณลักษณะหลักของ Google Analytics ในการเริ่มใช้งาน Analytics ให้ ลงชื่อเข้าใช้ ด้วยบัญชีผู้ใช้ Google ของคุณ 
13.  Performance หมายถึง ผลงานที่เกิดจากการกระทำ 
14.  Go global หมายถึง เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานแอพลิเคชั่นจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 
15.  Keyword หมายถึง คำที่เราเน้นเป็นพิเศษ อาจจะเน้นคำเหล่านั้นด้วย การใช้ลิงค์ Link Tag 
16.  Online Marketing หมายถึง การตลาดที่มีการนำเอาอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เรียกว่า การทำการตลาดแบบออนไลน์ 
17.  Traffic หมายถึง ปริมาณผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ที่ทำ SEO ก็เพื่อเพิ่มตรงนี้ละ 
18.  Content คือ เนื้อหาภายในเว็บไซต์ 
19.  Bounce Rate หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของคนเข้าเว็บ และออกไปเลย (ไม่สนใจในเว็บของเรา) ยิ่งเปอร์เซ็นต์สูง ยิ่งไม่ดี 
20.  Information Age หมายถึง  เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น โดยเฉพาะด้านธุรกิจ













 1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ตอบ.  สาเหตุที่ธุรกิจ E-commerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีที่ยังไม่ครอบคลุมประชาชนได้อย่างทั่วถึง  และประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีด้าน E-commerce น้อยมาก  จึงส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของ E-commerce  ในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้การทำธุรกิจ  E-commerce  ในประเทศไทย ไม่ประสบผลสำเร็จมีดังต่อไปนี้

      1.1
จากลักษณะนิสัยของคนไทย ที่ชอบความสะดวกสบาย รวดเร็ว และค่อนข้างเลือกในสินค้าอย่างถี่ถ้วน จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่หันที่จะมาเลือกซื้อสินค้าที่อยู่ใกล้ตนและยังร้าน สะดวกซื้อใกล้บ้าน หรือห้างร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านของตนโดยเชื่อว่าจะสะดวกในกรณีมี ปัญหาอย่างใด และสามารถเลือกดูคุณภาพสินค้านั้นได้ ซึ่งจากประเด็นนี้จะทำให้เห็นได้ว่าบทบาทการให้ความสนใจใน E-commerceจะค่อนข้างน้อย ซึ่งผู้บริโภคหลักที่ให้ความสนใจใน E-commerce นั้นจะเป็นเพียงห้างร้านขนาดปานกลางถึงใหญ่เท่านั้นที่ให้ความสนใจ

      1.2
ด้วยลักษณะภูมิประเทศด้านการตลาดที่เป็นอยู่ ซึ่งบ้านเรามีความสะดวกในการออกไปซื้อสินค้าต่างๆ เป็นอย่างมาก การออกไปซื้อสินค้าต่างๆ สามารถเดินทางไม่นาน โดยจากการสำรวจร้านค้าและห้างต่างๆในประเทศไทยนั้นมีมากมายภายใน 1 อำเภอ อาจจะมีหลายแห่ง ทั้ง Big C, Carfu, Lotus ทั้งห้างประจำท้องถิ่น หรือ 7-Eleven ก็มีมากมาย ซึ่งต่างจากประเทศที่มีการใช้ E-commerce สูง เนื่องด้วย ห้างร้านต่างๆของเขานั้นอยู่ไกลกันมาก การซื้อสินค้าออนไลน์ จึงสะดวกกว่า การเดินทางไปซื้อด้วยตัวเอง ซึ่งจากประเด็นนี้ก็จะทำให้สามารถเห็นข้อแตกต่างได้จัดเจนอีกส่วนหนึ่ง

      1.3
ด้านความเชื่อมั่นของคนไทย และความสะดวกสบายในการชำระเงิน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความเชื่อถือในการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ E-commerce เพราะนิสัยคนไทยเป็นคนขี้ระแวงและกลัว ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าผ่าน E-commerce อาจจะมองรวมไปถึงการออกแบบของ E-commerce ของคนไทยบางแห่งยังไม่น่าเชื่อถือทำให้มุมมองทัศนคติของผู้บริโภคนั้นยังไม่ ไว้วางใจในระบบ E-commerce ผู้บริโภคจึงหันมาซื้อสินค้าที่พบปะผู้ขายซึ่งให้ความมั่นใจแก่เขามากกว่า ตลอดจนการที่คนไทยส่วนน้อยจะมีความรู้เรื่องการ การชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือการชำระเงินออนไลน์ผ่านทางระบบต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นอาจเข้ามาเยี่ยมชมเลือกดูสินค้า แล้วอยากซื้อ แต่ไม่รู้จะชำระเงินอย่างไร ซึ่งทำให้เกิดการปิดกั้นด้านการซื้อสินค้าลงไป

      1.4
ด้านการสร้างเว็บไซต์ที่ยังไม่มุ่งต่อความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริง ซึ่งเว็บไซต์ E-commerce ในไทยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นความสวยงามน่าเข้าชมเข้าซื้อ แต่ขาดข้อคำนึงหลักคือ ลูกค้านั้นไม่ได้ต้องการเข้ามาดูเว็บไซต์ที่สวยงามนัก เพียงแต่มองหาสินค้าที่ต้องการและสามารถอำนวยความสะดวกในการซื้อสินค้าให้ เขาได้อย่างง่ายและรวดเร็วเท่านั้น ตลอดจนดูเป็นมาตรฐานน่าเชื่อถือเท่านั้น ซึ่งรวมช่องทางการติดต่อที่ให้ลูกค้าส่งข้อมูลเพื่อสื่อสารกับผู้ให้บริการ ไปให้กลับเป็นแหล่งที่ยังไม่น่าเชื่อถือในมุมมองของลูกค้า เช่น การใช้เมล์ที่เป็นฟรีเมล์ ซึ่งในมุมมองของลูกค้านั้นอาจมองว่ายังไม่น่าเชื่อถือว่าเป็นของผู้ให้ บริการจริงหรือไม่

      1.5
ด้านการทำประชาสัมพันธ์หรือ การโปรโมทเว็บ ซึ่ง การทำเว็บไซต์เป็นที่รู้จักติดหูแก่ผู้บริโภคนั้นทำได้ยาก ผู้ดำเนินการจะต้องหาวิธีการอย่างไรให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ซึ่งในทัศนคติของคนไทยจะติดอยู่เพียงที่เดิมที่ตนเคยเข้าใช้บริการเท่านั้น จึงเป็นการยากที่ที่เว็บไซต์ E-commerce ใหม่ๆ จะเข้ามามีบทบาทร่วมทางการตลาด เจ้าของเว็บไซต์ต้องหาวิธีโปรโมทให้ติดอันดับใน Search Engine ให้ได้ โดยชั้นนำของโลกอย่าง Google

      1.6
การวางตลาดที่ยังไม่กำหนดตำแหน่งที่แน่ชัด ซึ่งผู้ค้าส่วนใหญ่จะให้ความหวังในการขายสินค้าได้ทั่วทุกที่อาจทั่วโลก ทำให้ไม่คำนึงถึงตลาดโดยตรงไม่มุ่งเน้นไปที่ตลาดโดยตรง ไม่เจาะความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่แท้จริงทำให้สินค้าประเภทที่ดำเนิน E-commerce นั้นไม่สามารถเกิดการโอนย้ายสินค้า

      1.7
ด้านการส่งเสริมของภาครัฐที่ยังไม่มีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคเล็งเห็นถึงจุดมุ่งหมาย และผลตอบแทนจากการใช้ E-commerce ในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้การเจริญเติบโตของ E-commerce ยังไม่ดีเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากประชาชนในประเทศขาดการแนะนำ เชิญชวน ชักจูง จากภาครัฐที่เป็นภาคหลักในการบริหาร ชี้แนวทางประเทศให้เป็นไปในทิศทางต่างๆ นั่นเอง



2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ นักศึกษาคิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
ตอบ.  ในการที่จะทำให้ระบบการขายสินค้าใน รูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยนั้นประสบความสำเร็จได้ นั้นต้องมีการนำเอาปัจจัยหลายอย่าง เกี่ยวข้องที่เป็นตัวกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตลาด  ความทั่วถึงทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ความสามารถ รวมไปถึงทัศนคติค่านิยมของคนไทย ซึ่งสามารถแยกปัจจัยต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบได้ดังนี้

      2.1 การมองหาช่องทางตลาดของ E-commerce เป็น การเล็งเห็นถึงช่องทางทางการตลาดและรีบตัดสินใจนำมาดำเนินการเพื่อสร้างจุด ได้เปรียบทางการแข่งขันบนระบบ E-commerce ตลอดจนสร้างความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคให้หันมาสนใจในมุมมองใหม่นั้นโดยคิด อย่างรอบคอบและมองให้เห็นถึงอนาคต การคาดการณ์ที่อาศัยปัจจัยแปรต่างๆ ที่มีผลต่อระบบ

      2.2 การสร้างมุมมองที่อุดช่องโหว่ของความไม่เชื่อมั่นและความกลัวของคนไทย ใน การใช้บริการ E-commerce ซึ่งผู้ดำเนินต้องมีแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการใช้ บริการ E-commerce ให้เชื่อในความปลอดภัย เห็นถึงข้อดีต่างๆ ที่ได้จากการใช้งาน สร้างตัวจูงใจในการใช้บริการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่ได้สินค้าในราคาที่ถูกกว่าและมีคุณภาพ อันเนื่องมาจากการติดต่อโดยตรงไม่ผ่านคนกลางใดๆ

      2.3 การมองหาถึงช่องทางที่อำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ลูกค้ามากที่สุด ซึ่งเป็นการกล่าวในด้านการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งการที่จะทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่เชื่อถือนั้นต้องอาศัยการออกแบบที่รัดกุม น่าเชื่อถือ และที่สำคัญต้องอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการให้มากที่สุด ตลอดจนการมองหาช่องทางหรือการเปิดช่องทางที่หลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือก ชำระเงินได้อย่างสะดวกมากที่สุด มีตัวเลือกให้หลายเส้นทางที่สุด และคำนึงถึงความปลอดภัยร่วมด้วย

      2.4 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการลงทุนและข้อมูลเนื้อหาที่เสนอ ตลอด จนการติดต่อผสานงานกับส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงาน เช่นด้านการขนส่ง ด้านการชำระเงิน ด้านการให้บริการแก่ลูกค้า อีกทั้งส่วนสำคัญคือการสร้างข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ อันเป็นการสร้างฐานความเชื่อมั่นทางการตลาดเป็นสำคัญนั่นเอง

      2.5 การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีส่วนช่วยระหว่างกัน ซึ่งการที่เราจะดำเนินธุรกิจ E-commerce เพียงผู้เดียวคงจะเป็นการสำเร็จตามเป้าหมายที่ยาก การมีพันธมิตรทางการค้านับเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างตลาดให้เป็น ที่รู้จักแก่ผู้บริโภค ตลอดจนการสร้างโครงข่ายความช่วยเหลือระหว่างกันเป็นสำคัญ อาทิการแลกแบรนเนอร์ การฝากลิงค์ การแบ่งปันพื้นที่หน้าเว็บไซต์ระหว่างกัน ซึ่งเป็นหลักการสร้างเส้นทางในการเข้าถึงระหว่างกันนอกจากนั้นยังเป็นส่วน ช่วยในการส่งเสริมทางการตลาดเป็นอย่างดี ทำให้ผู้บริโภคมองหาสินค้าอื่นอีก นอกจากการมองจากแหล่งๆ เดียว ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นศูนย์กลางที่ผู้บริโภคเลือกเข้ามาใช้บริการ อันมีผลพลอยได้หลายประการ นอกจากการขายสินค้าเท่านั้น

      ซึ่งโดยสรุปแล้วการที่จะขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จนั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลักคือการมองเห็น ช่องทางทางการตลาดเป็นสำคัญ การมองหาถึงความต้องการและไม่ต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการสร้างพันธมิตรความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ E-commerce เป็นส่วนช่วยระหว่างกันอันเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะทำให้การดำเนิน E-commerce ของไทยประสบความสำเร็จอย่างก้าวหน้าและมั่นคงตลอดไป


วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำจำกัดความของ ZMOT และ So Lo Mo

คำจำกัดความของ  ZMOT

         การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ZMOT เราควรเริ่มทำความเข้าใจกับ FMOT กันก่อน  ซึ่งเราจะให้คำนิยามความหมายของ  FMOT  ได้ดังนี้  







                   FMOT  หรือ  First  Moment  Of  Truth  คือ  ช่วงเวลาชั่วขณะที่ลูกค้าได้มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าร้านและส่งผลในเรื่อง ของการตัดสินใจซื้อสินค้า  หน้าร้านจะเปรียบเสมือน  แบรนด์ของบริษัท  หรือเปรียบเหมือนกับโลโก้ของสินค้าของเรา

          ZMOT  หรือ  Zero  Moment  Of  Truth  คือ  ช่วงเวลาที่ลูกค้านั้นได้มีการเลือกซื้อสินค้าไปแล้ว  และได้มีการใช้สินค้านั้นแล้ว  และกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นอาจจะมีการมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลกันบนเว็บไซต์  มีการแชร์ประสบการณ์การใช้บริการว่าดีหรือไม่ดี  ถ้าเป็นสินค้าก็อาจแชร์ถึงราคา  คุณภาพของสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเลือกซื้อสินค้า  บริการในครั้งต่อ ๆ ไป อีก

           SMOT หรือ Second Moment of Truth เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้าดังกล่าว เค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลบนเว็บไซต์ก็เป็นได้




                 เห็นได้ว่า  ZMOT  เป็นสิ่งที่นักการตลาดที่ดูแลสินค้าถึงแม้ไม่เกี่ยวข้องกับออนไลน์โดยตรงก็ ควรต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะถ้าจะเจาะกลุ่มลูกค้า  Digital  Natives  ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคไอที ดังนั้น ZMOT จะมีผลต่อคนกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก
          และอย่าได้กลัวกับรีวิวที่เป็นเชิงลบหรือถูกโจมตีจนทำให้แบรนด์ไม่กล้า เข้ามาสู่โลกออนไลน์อีกเช่นกัน เพราะจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกแบรนด์ แต่ถ้าเรารู้วิธีในการจัดการ, สร้างความสัมพันธ์อันดีและจริงใจกับลูกค้าเสมอ จะเปลี่ยนจากวิกฤตเป็นโอกาส และซื้อใจลูกค้าได้เอง คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ แล้วในบริษัทมีผู้ที่ดูแลประสบการณ์ลูกค้าในช่วง ZMOT แล้วหรือยัง นอกจากจะเป็นช่วงที่มีอิทธิพลต่อการขายแล้ว , ความคิดเห็น รีวิวต่างๆ ที่มาจาก  SMOT ถูกส่งต่อไปให้กับลูกค้ารายใหม่ที่ยังอยู่ในช่วง ZMOT จะมีประโยชน์กับแบรนด์ในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปอีกด้วย





 คำจำกัดความของ So Lo Mo

          So ย่อมาจากคำว่า Social แปลกันตรง ๆ ตัวคือ สังคม แต่ไม่ใช่สังคมธรรมดา แต่มันเป็นสังคมออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายนั่นก็คือ Facebook , Twitter





         Lo ย่อมาจากคำว่า Location แปลว่า สถานที่ สถานที่ในที่นี้ หมายถึง Google Map ตอนนี้หลายเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์ บริษัท หรือแม้แต่เว็บไซต์ส่วนตัวได้มีการใช้งาน Application ที่ชื่อว่า Google Map เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้า  บริการ  หรือทัวร์ต่าง ๆ เช่นการปักหมุดร้านค้า หรือ สถานที่ท่องเที่ยวของเจ้าของเว็บไซต์หรือทัวร์ต่าง ๆ





                Mo ย่อมาจากคำว่า Mobile ในที่นี้ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือธรรมดา แต่เป็น SmartPhone , iPhone , Tablet ต่าง ๆ ที่ได้ถูกพัฒนา Application บนมือถือเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดออ นไลน์ในอนาคต  อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลหรือออนไลน์ผ่านระบบ  INTERNET  บนมือถือ  การแชทและสนทนากันได้โดยผ่าน  Social  Media  





          
          ดังนั้น  สรุปได้ว่า  SO LO MO  หมายถึง  การติดต่อทำธุรกิจ   ซื้อขายสินค้า  รวมถึงการแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างกัน  การแสดงความคิดเห็น  ข้อเสนอของลูกค้า  หรือข้อมูลเพื่อการนำไปปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจ  โดยผ่านการสื่อสารกับองค์กรย่อย  หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย  ผ่านทาง  Social  Media  ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน  เวลาไหน  ก็สามารถใช้บริการ  รวมถึงการพูดคุย  การแชร์ความคิดเห็น ได้ตลอด 24 ชั่วโมง   


ที่มา  :  http://www.ondims.com  ,  https://www.tote-market.com