วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555


 1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ตอบ.  สาเหตุที่ธุรกิจ E-commerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีที่ยังไม่ครอบคลุมประชาชนได้อย่างทั่วถึง  และประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีด้าน E-commerce น้อยมาก  จึงส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของ E-commerce  ในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้การทำธุรกิจ  E-commerce  ในประเทศไทย ไม่ประสบผลสำเร็จมีดังต่อไปนี้

      1.1
จากลักษณะนิสัยของคนไทย ที่ชอบความสะดวกสบาย รวดเร็ว และค่อนข้างเลือกในสินค้าอย่างถี่ถ้วน จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่หันที่จะมาเลือกซื้อสินค้าที่อยู่ใกล้ตนและยังร้าน สะดวกซื้อใกล้บ้าน หรือห้างร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านของตนโดยเชื่อว่าจะสะดวกในกรณีมี ปัญหาอย่างใด และสามารถเลือกดูคุณภาพสินค้านั้นได้ ซึ่งจากประเด็นนี้จะทำให้เห็นได้ว่าบทบาทการให้ความสนใจใน E-commerceจะค่อนข้างน้อย ซึ่งผู้บริโภคหลักที่ให้ความสนใจใน E-commerce นั้นจะเป็นเพียงห้างร้านขนาดปานกลางถึงใหญ่เท่านั้นที่ให้ความสนใจ

      1.2
ด้วยลักษณะภูมิประเทศด้านการตลาดที่เป็นอยู่ ซึ่งบ้านเรามีความสะดวกในการออกไปซื้อสินค้าต่างๆ เป็นอย่างมาก การออกไปซื้อสินค้าต่างๆ สามารถเดินทางไม่นาน โดยจากการสำรวจร้านค้าและห้างต่างๆในประเทศไทยนั้นมีมากมายภายใน 1 อำเภอ อาจจะมีหลายแห่ง ทั้ง Big C, Carfu, Lotus ทั้งห้างประจำท้องถิ่น หรือ 7-Eleven ก็มีมากมาย ซึ่งต่างจากประเทศที่มีการใช้ E-commerce สูง เนื่องด้วย ห้างร้านต่างๆของเขานั้นอยู่ไกลกันมาก การซื้อสินค้าออนไลน์ จึงสะดวกกว่า การเดินทางไปซื้อด้วยตัวเอง ซึ่งจากประเด็นนี้ก็จะทำให้สามารถเห็นข้อแตกต่างได้จัดเจนอีกส่วนหนึ่ง

      1.3
ด้านความเชื่อมั่นของคนไทย และความสะดวกสบายในการชำระเงิน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความเชื่อถือในการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ E-commerce เพราะนิสัยคนไทยเป็นคนขี้ระแวงและกลัว ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าผ่าน E-commerce อาจจะมองรวมไปถึงการออกแบบของ E-commerce ของคนไทยบางแห่งยังไม่น่าเชื่อถือทำให้มุมมองทัศนคติของผู้บริโภคนั้นยังไม่ ไว้วางใจในระบบ E-commerce ผู้บริโภคจึงหันมาซื้อสินค้าที่พบปะผู้ขายซึ่งให้ความมั่นใจแก่เขามากกว่า ตลอดจนการที่คนไทยส่วนน้อยจะมีความรู้เรื่องการ การชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือการชำระเงินออนไลน์ผ่านทางระบบต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นอาจเข้ามาเยี่ยมชมเลือกดูสินค้า แล้วอยากซื้อ แต่ไม่รู้จะชำระเงินอย่างไร ซึ่งทำให้เกิดการปิดกั้นด้านการซื้อสินค้าลงไป

      1.4
ด้านการสร้างเว็บไซต์ที่ยังไม่มุ่งต่อความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริง ซึ่งเว็บไซต์ E-commerce ในไทยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นความสวยงามน่าเข้าชมเข้าซื้อ แต่ขาดข้อคำนึงหลักคือ ลูกค้านั้นไม่ได้ต้องการเข้ามาดูเว็บไซต์ที่สวยงามนัก เพียงแต่มองหาสินค้าที่ต้องการและสามารถอำนวยความสะดวกในการซื้อสินค้าให้ เขาได้อย่างง่ายและรวดเร็วเท่านั้น ตลอดจนดูเป็นมาตรฐานน่าเชื่อถือเท่านั้น ซึ่งรวมช่องทางการติดต่อที่ให้ลูกค้าส่งข้อมูลเพื่อสื่อสารกับผู้ให้บริการ ไปให้กลับเป็นแหล่งที่ยังไม่น่าเชื่อถือในมุมมองของลูกค้า เช่น การใช้เมล์ที่เป็นฟรีเมล์ ซึ่งในมุมมองของลูกค้านั้นอาจมองว่ายังไม่น่าเชื่อถือว่าเป็นของผู้ให้ บริการจริงหรือไม่

      1.5
ด้านการทำประชาสัมพันธ์หรือ การโปรโมทเว็บ ซึ่ง การทำเว็บไซต์เป็นที่รู้จักติดหูแก่ผู้บริโภคนั้นทำได้ยาก ผู้ดำเนินการจะต้องหาวิธีการอย่างไรให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ซึ่งในทัศนคติของคนไทยจะติดอยู่เพียงที่เดิมที่ตนเคยเข้าใช้บริการเท่านั้น จึงเป็นการยากที่ที่เว็บไซต์ E-commerce ใหม่ๆ จะเข้ามามีบทบาทร่วมทางการตลาด เจ้าของเว็บไซต์ต้องหาวิธีโปรโมทให้ติดอันดับใน Search Engine ให้ได้ โดยชั้นนำของโลกอย่าง Google

      1.6
การวางตลาดที่ยังไม่กำหนดตำแหน่งที่แน่ชัด ซึ่งผู้ค้าส่วนใหญ่จะให้ความหวังในการขายสินค้าได้ทั่วทุกที่อาจทั่วโลก ทำให้ไม่คำนึงถึงตลาดโดยตรงไม่มุ่งเน้นไปที่ตลาดโดยตรง ไม่เจาะความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่แท้จริงทำให้สินค้าประเภทที่ดำเนิน E-commerce นั้นไม่สามารถเกิดการโอนย้ายสินค้า

      1.7
ด้านการส่งเสริมของภาครัฐที่ยังไม่มีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคเล็งเห็นถึงจุดมุ่งหมาย และผลตอบแทนจากการใช้ E-commerce ในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้การเจริญเติบโตของ E-commerce ยังไม่ดีเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากประชาชนในประเทศขาดการแนะนำ เชิญชวน ชักจูง จากภาครัฐที่เป็นภาคหลักในการบริหาร ชี้แนวทางประเทศให้เป็นไปในทิศทางต่างๆ นั่นเอง



2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ นักศึกษาคิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
ตอบ.  ในการที่จะทำให้ระบบการขายสินค้าใน รูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยนั้นประสบความสำเร็จได้ นั้นต้องมีการนำเอาปัจจัยหลายอย่าง เกี่ยวข้องที่เป็นตัวกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตลาด  ความทั่วถึงทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ความสามารถ รวมไปถึงทัศนคติค่านิยมของคนไทย ซึ่งสามารถแยกปัจจัยต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบได้ดังนี้

      2.1 การมองหาช่องทางตลาดของ E-commerce เป็น การเล็งเห็นถึงช่องทางทางการตลาดและรีบตัดสินใจนำมาดำเนินการเพื่อสร้างจุด ได้เปรียบทางการแข่งขันบนระบบ E-commerce ตลอดจนสร้างความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคให้หันมาสนใจในมุมมองใหม่นั้นโดยคิด อย่างรอบคอบและมองให้เห็นถึงอนาคต การคาดการณ์ที่อาศัยปัจจัยแปรต่างๆ ที่มีผลต่อระบบ

      2.2 การสร้างมุมมองที่อุดช่องโหว่ของความไม่เชื่อมั่นและความกลัวของคนไทย ใน การใช้บริการ E-commerce ซึ่งผู้ดำเนินต้องมีแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการใช้ บริการ E-commerce ให้เชื่อในความปลอดภัย เห็นถึงข้อดีต่างๆ ที่ได้จากการใช้งาน สร้างตัวจูงใจในการใช้บริการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่ได้สินค้าในราคาที่ถูกกว่าและมีคุณภาพ อันเนื่องมาจากการติดต่อโดยตรงไม่ผ่านคนกลางใดๆ

      2.3 การมองหาถึงช่องทางที่อำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ลูกค้ามากที่สุด ซึ่งเป็นการกล่าวในด้านการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งการที่จะทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่เชื่อถือนั้นต้องอาศัยการออกแบบที่รัดกุม น่าเชื่อถือ และที่สำคัญต้องอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการให้มากที่สุด ตลอดจนการมองหาช่องทางหรือการเปิดช่องทางที่หลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือก ชำระเงินได้อย่างสะดวกมากที่สุด มีตัวเลือกให้หลายเส้นทางที่สุด และคำนึงถึงความปลอดภัยร่วมด้วย

      2.4 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการลงทุนและข้อมูลเนื้อหาที่เสนอ ตลอด จนการติดต่อผสานงานกับส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงาน เช่นด้านการขนส่ง ด้านการชำระเงิน ด้านการให้บริการแก่ลูกค้า อีกทั้งส่วนสำคัญคือการสร้างข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ อันเป็นการสร้างฐานความเชื่อมั่นทางการตลาดเป็นสำคัญนั่นเอง

      2.5 การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีส่วนช่วยระหว่างกัน ซึ่งการที่เราจะดำเนินธุรกิจ E-commerce เพียงผู้เดียวคงจะเป็นการสำเร็จตามเป้าหมายที่ยาก การมีพันธมิตรทางการค้านับเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างตลาดให้เป็น ที่รู้จักแก่ผู้บริโภค ตลอดจนการสร้างโครงข่ายความช่วยเหลือระหว่างกันเป็นสำคัญ อาทิการแลกแบรนเนอร์ การฝากลิงค์ การแบ่งปันพื้นที่หน้าเว็บไซต์ระหว่างกัน ซึ่งเป็นหลักการสร้างเส้นทางในการเข้าถึงระหว่างกันนอกจากนั้นยังเป็นส่วน ช่วยในการส่งเสริมทางการตลาดเป็นอย่างดี ทำให้ผู้บริโภคมองหาสินค้าอื่นอีก นอกจากการมองจากแหล่งๆ เดียว ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นศูนย์กลางที่ผู้บริโภคเลือกเข้ามาใช้บริการ อันมีผลพลอยได้หลายประการ นอกจากการขายสินค้าเท่านั้น

      ซึ่งโดยสรุปแล้วการที่จะขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จนั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลักคือการมองเห็น ช่องทางทางการตลาดเป็นสำคัญ การมองหาถึงความต้องการและไม่ต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการสร้างพันธมิตรความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ E-commerce เป็นส่วนช่วยระหว่างกันอันเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะทำให้การดำเนิน E-commerce ของไทยประสบความสำเร็จอย่างก้าวหน้าและมั่นคงตลอดไป


12 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาอ่านยากไปหน่อยนะค่ะ ด้วยรูปแบบการตกแต่งและการใช้ตัวอักษรด้วย ถ้าเป็นไปได้ช่วยแก้ไขหน่อยก็ดีนะค่ะ แต่โดยรวมแล้วอ่านเนื้อหาแล้วเข้าใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาเข้าใจดีครับ แต่รูปแบบดูยากไปนิดนึง ลายตาเวลาอ่าน แต่ภาพรวมถือว่าดีครับ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาดีคับ อ่านแล้วเข้าใจคับ

    ตอบลบ
  4. เนื้อสาระดีเป็นองค์ความรู้เพิ่มเติมน่าสนใจมาก ชี้ประเด็นชี้ชัดดีนะครับ แต่ข้อที่ 2 ขอเพิ่มการนำรัฐบาลเข้ามาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนด้วยนะครับ

    ซึ่งจากข้อมูลในบทความนี้ส่วนใหญ่สามารถทำให้มองเห็นถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจ E-commerce ได้เป็นส่วนหนึ่งครับ ขอบคุณครับ

    ฝากลิ้งค์ ครับ http://ebusinesskorawit.blogspot.com/

    ตอบลบ
  5. เนื้อหามีสาระดี แบ่งเป็นข้อ ทำให้อ่านได้ง่าย และเข้าใจดี

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาชัดเจน อ่านง่าย สมารถทำความเข้าใจได้ง่าย

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาอ่านยากไปนิด เพราะตัวอักษร Font ไม่เหมือนกัน โดยรวมก็ถือว่าดี ค่ะ

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาชัดเจนดีครับ อ่านเข้าใจง่ายดีครับ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาชัดเจน แต่ตัวหนังสือน่าจะจัดให้มีระเบียบมากกว่านี้นะค่ะ

    ตอบลบ
  10. อ่านง่าย เข้าใจดีจังเลยครับ

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ19 สิงหาคม 2555 เวลา 08:05

    เนื้อหาดีมีสาระ ควรปรับปรุงตัวอักษรหน่อยครับ

    ตอบลบ
  12. เนื้อหาเยอะดีนะคับ ธุรกิจเหล่านี้อาจจะเป็นธุรกิจใหม่ที่คนไทยยังไม่ค่อยน่าสนใจ

    แต่ในอนาคตผมว่าธุรกิจนี้จะเป็นการเปิดการค้าที่ทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้

    ส่วนตัวผมเองเกี่ยวกับธุรกิจด้านนี้เหมือนกันคับ

    :")

    ตอบลบ